แนวโน้มธุรกิจไม้ประดับในไทยปี 2024

ตลาดเมล็ดพันธุ์และไม้ประดับกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มด้านความยั่งยืน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การทำสวนเกษตรในเมือง และการเทรนด์การดูแลสุขภาพและความงาม แนวโน้มเหล่านี้จะมาเปลี่ยนบทบาททางอุตสาหกรรม ถือเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจและผู้บริโภค ประเทศที่มีการส่งออกไม้ประดับอันดับต้นๆ ของโลกต้องยกให้ เคนย่า และ เนเธอร์แลนด์ แต่ปัจจุบันประเทศไทยของเราก็มีการสร้างธุรกิจในด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อมองตัวเลขของไม้ประดับกับธุรกิจต้นไม้แล้วจะพบว่า ข้อมูลจากปี 2559 ประเทศไทยมีเกษตรกรในกลุ่มนี้มากกว่า 16,000 ครัวเรือน แบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกไม้ประดับเพื่อการส่งออกล้วนๆ ราว 300 ครัวเรือน มูลค่าตลาดรวมอยู่ในระดับ 3.5-4 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงมากเลยทีเดียว กลุ่มประเทศยอดนิยมมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย อเมริกา และอีกหลายประเทศในยุโรป


ในด้านของการตลาดไทยเราก็ยังถือว่ามีแนวโน้มถือจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยไม้ประดับไทยได้รับการยกย่องว่ามีพรรณไม้ที่หลากหลายและสวยงาม จึงเป็นบทบาทมากในเรื่องของการประดับสภาพแวดล้อมโครงสร้างอาคารทั้งภายในและภายนอก ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญอย่างประการแรก การขยายตัวของเมืองส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของไทย ได้สร้างตลาดที่มั่นคงสำหรับไม้ประดับในโรงแรม รีสอร์ท และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในขณะเดียวกันเราก็ได้มีการนำเข้าของไม้ประดับเมืองหนาวมากขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตร จึงแบ่งกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภาพ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

1.กลุ่มที่มีศักยภาพการส่งออก เช่น กล้วยไม้ปทุมมา จากสถานการณ์ปี 2566 ประเทศไทยส่งออกไม้ดอกไม้ประดับมูลค่ารวม 4,474 ล้านบาท โดยส่งออกกล้วยไม้มากที่สุด 2,682 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน 
2.กลุ่มที่ผลิตเพื่อลดการนำเข้า เช่น กุหลาบ บัวหลวง เบญจมาศ ลิลลี่ ซึ่งประเทศไทยมีการนําเข้าไม้ดอกไม้ประดับมูลค่า 2,237 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน 
3.กลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น มะลิ พุด ดาวเรือง รัก บัว

เทรนด์ของผู้บริโภคในแต่ละปีก็ยังคงเป็นความท้าทายของตลาดที่เรียกได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเช่นกัน ยกตัวอย่างช่วงโควิดระบาด ตลาดไม้ประดับในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก การท่องเที่ยวต้องปิดตัวลง การส่งออกไม้ประดับลดน้อยลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศมีความสนใจเพิ่มขึ้นในด้านการจัดสวนและการตกแต่งบ้านเมื่อต้องกักตัวอยู่บ้าน ส่งผลให้ความต้องการไม้ประดับเพิ่มขึ้น ธุรกิจบางประเภทปรับตัวด้วยการมุ่งเน้นขายออนไลน์มากขึ้น บ้างก็เกิดกระแสปลูกต้นไม้ตามผู้มีอิทธิพลอย่างดาราหรืออินฟลูเอนเซอร์ บ้างก็เกิดไม้สวยแปลกตา อย่างเช่น ไม้ด่าง ไม้ใบใหญ่ เป็นต้น โดยในปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร คัดเลือก 14 ชนิดพืชสินค้าเกษตรมูลค่าสูง นำร่องจาก 46 กลุ่มแปลงใหญ่ 46 ตำบล 42 อำเภอ 26 จังหวัด ได้แก่ กล้วยไม้ กาแฟ มะพร้าวน้ำหอม สับปะรด หน่อไม้ฝรั่ง ลำไย มะม่วง มะขามหวาน กล้วยหอม มังคุด ส้มโอ ลิ้นจี่ ทุเรียน และส้มเขียวหวาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร

ขอบคุณที่มา
https://www.6wresearch.com/industry-report/thailand-ornamental-plant-market-outlook
https://www.marketresearchintellect.com/blog/top-5-trends-shaping-the-ornamental-seeds-market-in-2024/
https://www.arda.or.th/detail/6161
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1143405

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save