สวนเกษตรกับที่ดินรกร้าง…จ่ายภาษีต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างสวนเกษตรกับที่ดินรกร้าง

คุ้มมั้ย…กับการสร้างสวนเกษตรหรือควรปล่อยให้เป็นพื้นที่รกร้างต่อไป? แล้วถ้าไม่สร้างสวนเกษตรจะต้องจ่ายภาษีเยอะแค่ไหน? แล้วถ้าจะสร้างสวนเกษตรต้องปลูกต้นไม้อะไร? จำนวนเท่าไหร่? คำถามเหล่านี้ น่าจะเกิดขึ้นกับหลายๆ คนที่มีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่ทั้งพื้นที่ที่ใช้งานอยู่และที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เราเริ่มเห็นการสร้างสวนเกษตรแบบแปลกๆ เช่น สวนมะนาวใจกลางพื้นที่ย่านทองหล่อ สวนกล้วยติดแนวรถไฟฟ้าบนถนนสุขุมวิท สวนมะพร้าวในที่ดินโซนรามอินทรา บอกได้เลยว่าการสร้างสวนแบบนี้ช่วยลดการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างไม่น่าเชื่อ…

อย่างแรกที่เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคือ ต้องรู้ว่าที่ดินที่มีอยู่เป็นที่ดินประเภทไหน จากพรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการแบ่งลักษณะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะใช้ประโยชน์ คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ดินพาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อให้สามารถคิดคำนวณภาษีตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1.ที่ดินเกษตรกรรม เป็นการใช้ที่ดินเพื่อการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ อัตราภาษี 0.01-0.1 % ของราคาที่ดินประเมิน (จะคิดอัตราภาษีที่อัตราไหนขึ้นกับราคาประเมินที่ดิน ยิ่งราคาสูงยิ่งใช้อัตราภาษีที่สูง) อัตราเพดานสูงสุดที่ 0.15 %
2.ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นการใช้ที่ดินเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ อัตราภาษี 0.03-0.1 % ของราคาที่ดินประเมิน อัตราเพดานสูงสุดที่ 0.3 %
3.ที่ดินพาณิชยกรรม เป็นการใช้ที่ดินในเชิงพาณิชย์รูปแบบต่างๆ เช่น ใช้ที่ดินสร้างโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารพาณิชย์  อัตราภาษี 0.3-0.7 % ของราคาที่ดินประเมิน อัตราเพดานสูงสุดที่ 1.2 %
4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ อัตราภาษี 0.3-0.7 % ของราคาที่ดินประเมิน อัตราเพดานสูงสุดที่ 3 %

การแบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ต่อมาเมื่อเรารู้ว่าที่ดินที่เรามีอยู่เป็นที่ดินที่ใช้ประโยชน์อะไรหรือเป็นที่ดินประเภทไหนแล้ว เราต้องรู้ราคาประเมินของที่ดิน จากโซนตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของพื้นที่ โดยยึดรายละเอียดข้อมูลขนาดและที่ตั้งตามโฉนดที่ดินที่เราครอบครองอยู่ ซึ่งเบื้องต้นถ้าเราต้องการทราบราคาที่ดินประเมินเบื้องต้นเพื่อเช็คราคาไปคำนวนและคาดการณ์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจ่าย เราสามารถเข้าไปเช็คราคาประมูลได้ที่ เวปไซด์ของกรมธนารักษ์

ส่วนการปลูกต้นไม้เพื่อให้การประเมินชนิดที่ดิน เป็นการใช้ที่ดินในรูปแบบเกษตรกรรม “ไม่ใช่เราจะปลูกต้นไม้อะไรก็ได้ จำนวนเท่าไหร่ก็ได้” แต่จำเป็นต้องปลูกให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้าย พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) บัญชีแนบท้าย ก ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่จะมีการกำหนดชนิดและจำนวนของต้นไม้ไว้ 57 ชนิด เช่น มะม่วง มะพร้าว ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย ปลูกชนิดละ 20 ต้น/ไร่, มะขาม มะปราง กระท้อน ขนุน สะตอ หน่อไม้ไผ่ตง ปลูกชนิดละ 25 ต้น/ไร่, ปลูกมะนาว 50 ต้น/ไร่, ปลูกมะละกอ 100 ต้น/ไร่, กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ปลูกชนิดละ 200 ต้น/ไร่ เป็นต้น

ตัวอย่างชนิดและจำนวนต้นไม้ ที่ปลูกแล้วเข้าเกณฑ์การเป็นที่ดินประเภทเกษตรกรรม

เพราะเมื่อถึงช่วงของการประเมินภาษีที่ดิน ทางส่วนงานที่เกี่ยวข้องจะมีการส่งคนมาประเมินที่ดินตามโฉนดที่เราถือครอง ตรวจดูชนิดและจำนวนต้นไม้ที่ปลูกบนพื้นที่ต่อไร่ว่าเป็นไปตามที่ พรบ.กำหนดไว้หรือไม่ก่อนนำไปประเมินเป็นราคาภาษีที่ดินต่อไป

มาเปรียบเทียบภาษีที่ต้องจ่ายกัน… >> ถ้าอัตราประเมินที่ดินอยู่ที่ 10 ล้านบาท เราปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้างไม่ได้มีการจัดการอะไร คิดอัตราภาษีที่ดินรกร้างในอัตรา 0.3-0.7 % ของราคาที่ดินประเมิน เราจะถูกเก็บภาษีที่ 30,000 บาท แต่ถ้ามีการจัดการพื้นที่ให้เป็นสวนหรือที่ดินเกษตรกรรม คิดอัตราภาษีที่ดินเกษตรกรรมในอัตรา 0.01-0.1 % ของราคาที่ดินประเมิน เราจะเสียภาษีอยู่ที่ 1,000 บาท จะเห็นว่ามีความแตกต่างของค่าใช้จ่ายด้านภาษีระหว่าง 30,000 บาท และ 1,000 บาท มากพอสมควร ดังนั้นการจัดการที่ดินให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจากการปลูกสร้างสวนเกษตรจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการลดภาษีที่ดินที่น่าจับตามอง

“รากดี” พร้อมให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านการออกแบบสวนเกษตรบนพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดภูมิทัศน์สวนขนาดใหญ่ รวมถึงการบริการดูแลสวนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Line@ https://bit.ly/3vFVcWa
#สวนเกษตร #การจัดการพื้นที่ว่างเปล่า #จัดสวน #รากดี #RakD #รากฐานที่มั่นคงเพื่อความสุขที่ยั่งยืน #LandscapeBusiness #Landscape #RakDLandscape #จัดภูมิทัศน์ #ออกแบบจัดสวน #จัดสวนครบวงจร #ให้คำปรึกษาด้านภูมิทัศน์ #ดูแลรักษาภูมิทัศน์ #รับตัดแต่งต้นไม้สนามหญ้า #รับย้ายต้นไม้ใหญ่

ต้นไม้ตามหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save